"อ้วนมากและน้ำหนักเกิน" ภัยต่อเด็กยุคใหม่จริงหรือ?
“อ้วนมากและน้ำหนักเกิน” ภัยต่อเด็กยุคใหม่จริงหรือ ?
- รายละเอียด
- โดย นพ.อภิชัย โภคาวัฒนา และ พญ.สุกานดา เป็งยศ
- จำนวนเข้าชม: 2875
ถ้าหากเอ่ยถึงภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ในวัยเรียนและวัยรุ่นไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และกำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญเช่นเดียวกับอีกหลายประเทศ ทั้งส่งผลทำให้เกิดผลกระทบในระยะสั้นและระยะยาวต่อร่างกายและจิตใจ โดยหากมองแต่ละคนย่อมมีรูปร่างและความสูงที่แตกต่างกันไป เมื่อมองจากภายในเราอาจรู้สึกว่าคนนั้นอ้วน หรืออีกคนอาจดูแค่อวบๆ แต่มองให้ลึกลงไปกว่านั้น ร่างกายคนเราประกอบด้วยหลายๆอย่าง ทั้ง น้ำ ไขมัน โปรตีน และอื่นๆอีกมาก ทำให้การประเมินจากภายนอกอาจบอกได้ยากว่าแต่ละคนนั้นอ้วนจริงเหรอ???
วิธีการบอกมาตรฐานน้ำหนักตัวของเราว่าเหมาะสมหรือไม่ ต้องใช้การวัดค่ามวลกล้ามเนื้อ หรือที่เรียกว่า BMI (Body mass index) ซึ่งการคำนวณง่าย ๆ โดยใช้ส่วนสูงและน้ำหนักตัว โดยทางการแพทย์จะใช้ค่า BMI นี้มาเป็นตัวบอกว่า เรานั้นอยู่ในภาวะน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วนแล้ว โดยพิจารณาค่าดังนี้
- BMI อยู่ในช่วง 18.5-24.9 kg/m2. ถือว่าอยู่ ภาวะน้ำหนักมาตรฐาน
- BMI 25-30 kg/m2. ถือว่าอยู่ ภาวะน้ำหนักเกิน
- BMI มากกว่า 30 kg/m2 ขึ้นไป ถือว่าเป็น โรคอ้วน
โรคอ้วนเป็นเรื่องที่ควรระวัง เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับโรคหลายๆ อย่าง อาทิเช่น ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน แต่อันตรายที่สุดสำหรับโรคอ้วน คือ ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ และอาจทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้ ดังนั้น หากเรารู้วิธีประเมิน BMI เราสามารถบอกได้ว่าตอนนี้เราเป็นแค่ภาวะน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วนแล้ว
“เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว คุณวัด BMI ของตัวคุณเอง ครั้งสุดท้ายเมื่อไร? ”
ผลงานโดย
นพ.อภิชัย โภคาวัฒนา
พญ.สุกานดา เป็งยศ