วัคซีน COVID 19
ผู้ป่วยที่ใช้ยาต้านการเกิดลิ่มเลือด สามารถฉีดวัคซีนป้องกัน COVID ได้หรือไม่?
- รายละเอียด
- โดย ภก.กฤติน บัณฑิตานุกูล
- จำนวนเข้าชม: 4603

ผู้ป่วยที่ใช้ยาต้านการเกิดลิ่มเลือด
สามารถฉีดวัคซีนป้องกัน COVID ได้หรือไม่?
ผู้ป่วยที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant เช่น dabigatran, rivaroxaban, apixaban, edoxaban) สามารถฉีดวัคซีนป้องกัน COVID ได้หรือไม่?
- โดยทั่วไปการฉีดวัคซีนมักจะเป็นการฉีดแบบ intramuscular ซึ่งในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด อาจจะมีความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกได้เช่น hematoma ดังนั้นหากสามารถกำหนดเวลาฉีดได้ ควรฉีดในช่วงที่ระดับยาต้านการแข็งตัวของเลือดต่ำที่สุดคือก่อนรับประทานยามื้อถัดไป (12-24 ชม.หลังจากรับประทานยา) หากไม่สามารถกำหนดเวลาได้แน่นอนให้งดรับประทานยามื้อเช้าไปก่อน และเริ่มรับประทานยาอีกครั้งหลังฉีดวัคซีนไปประมาณ 6 ชม. (ในกรณี dabigatran และ apixaban ที่ต้องรับประทานวันละ 2 ครั้งให้ข้ามยามื้อเช้าไป และรับประทานยาในมื้อบ่ายตามปกติ)
- แนะนำให้ใช้เข็มขนาดเล็ก 25G หรือ 27G
- หลีกเลี่ยงการคลึงบริเวณกล้ามเนื้อที่ฉีด
- แนะนำให้กดตรงตำเเหน่งที่ฉีดยาประมาณ 5 นาที จากนั้นอาจประคบเย็นต่อด้วยน้ำแข็งหรือเจลาติน
ผู้ป่วยที่รับประทานยาวาร์ฟารินสามารถฉีดวัคซีนป้องกัน COVID ได้หรือไม่?
- กรณีผลตรวจระดับ INR ต่ำกว่า 4 ภายใน 1 สัปดาห์ หรือมีผลระดับ INR ก่อนหน้านี้อยู่ในระดับต่ำกว่า 3 มาโดยตลอด ไม่จำเป็นต้องหยุดยาหรือปรับขนาดยา และไม่จำเป็นต้องตรวจ INR ก่อนได้รับวัคซีน
- แนะนำให้ใช้เข็มขนาดเล็ก 25G หรือ 27G
- หลีกเลี่ยงการคลึงบริเวณกล้ามเนื้อที่ฉีด
- แนะนำให้กดตรงตำเเหน่งที่ฉีดยาประมาณ 5 นาที จากนั้นอาจประคบเย็นต่อด้วยน้ำแข็งหรือเจลาติน
ผลงานโดยภก.กฤติน บัณฑิตานุกูล