โรคหัวใจ

การตรวจคราบหินปูนที่หลอดเลือดแดงโคโรนารี หรือ CORONARY CALCIUM SCORING

1.สาเหตุของการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด (Coronary artery disease)

     เกิดปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุที่เพิ่มมากขึ้น, เพศ, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, อ้วน, ไม่ออกกำลังกาย, ความเครียด ความอักเสบ และอื่นๆ

2.การตรวจคราบหินปูนที่หลอดเลือดแดงโคโรนารี (Coronary Calcium Scoring) 

     เป็นการตรวจคราบไขมัน ชนิดที่มีหินปูนเกาะ ที่บริเวณหลอดเลือดแดงโคโรนารี ซึ่งเป็นหลอดเลือดแดงหลักที่ส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ โดยหินปูนดังกล่าวจะบ่งชี้ถึงความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอด
เลือดหัวใจตีบ  ยิ่งพบมากยิ่งบ่งบอกถึงความเสี่ยงที่สูงมากขึ้นตามด้วยโดยคราบหินปูนที่หลอดเลือดแดงโคโรนารี จะแปลผลเป็นตัวเลข หรือเรียกว่า Coronary calcium score

3.ประโยชน์ที่ได้รับจากการตรวจ Coronary Calcium Scoring

     เป็นการตรวจเพื่อคัดกรอง เพื่อให้ได้การวินิจฉัยโรคหัวใจในระยะเริ่มต้น (early detection) ก่อนที่จะมีอาการของโรคหัวใจขาดเลือด อันได้แก่ เจ็บหน้าอก หรือ ภาวะหัวใจวาย เป็นต้น เพื่อนำไปสู่การปรับแก้ไข ปัจจัยเสี่ยง ตลอดจนเป็นข้อมูลหลัก เพื่อพิจารณาการรักษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น การให้ยา statin หรือ aspirin เป็นต้น  โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อ ป้องกัน หรือ ชะลอการเกิดโรค หรือ ลดความรุนแรงของโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ข้อมูลดังกล่าวยังเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีความร่วมมือในการรักษาดีขึ้น

4.การแปลผลการตรวจ Coronary Calcium Scoring

     หากตรวจไม่พบหินปูนที่หลอดเลือดแดงโคโรนารี่ หรือ Coronary calcium score เป็น 0 บ่งชี้ว่า ความเสี่ยงที่จะมีหลอดเลือดหัวใจตีบหรือโอกาสเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันต่ำมาก (น้อยกว่า 5%)ในทางตรงกันข้ามหากค่า Coronary calcium score สูงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค่าที่มากกว่า 400 จะบ่งชี้ว่าความเสี่ยงที่จะมีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภายในระยะเวลา 5 ปีสูงมาก แม้ว่าจะมีอาการของโรคหัวใจขาดเลือด หรือไม่ก็ตาม

5.ผู้ที่ควรได้รับการตรวจ Coronary Calcium Scoring
  • อายุมากกว่า 45 ปี 
  • ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, อ้วน, สูบบุหรี่ และอื่นๆ
  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
6.วิธีการตรวจและการเตรียมตัว

     ไม่ต้องอดอาหาร ใช้ระยะเวลาในเครื่องตรวจ(CT-scanner) ประมาน 10-15 นาที และได้รับรังสี ประมาณ 1 mSv(เทียบเท่ากับ การเอกซเรย์ปอดประมาณ 10 ครั้ง) และเป็นการตรวจที่ไม่ต้องฉีดสารทึบแสงใดๆ เข้าทางหลอดเลือดดำ

ผลงานโดย

พตท พญ รัญญวรรณ โชตินิมิตรคุณ

ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลตำรวจ

 

    สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย

    ในพระบรมราชูปถัมภ์

    ที่อยู่ : ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี

    ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กทม. 10310

    E-mail : [email protected]

 

085691
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All_Days
125
644
1445
2446
6655
60799
85691

Your IP: 108.162.216.46
2024-04-16 04:50
  • สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยฯ ขอส่งความห่วงใยผ่าน น้องขวัญใจ น้องพอใจ และน้องสุขใจ ขอให้ทุกคนรอดพ้นจาก COVID-19